วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

การคูณทศนิยม ความสำคัญคือการนับหลัก

การคูณทศนิยม ความสำคัญคือการนับหลัก
กลับมาพบกันอีกครั้ง หนึ่งกับบทเรียนออนไลน์ จากเพจคณิตครูป้องในวันนี้ คราวนี้เราจะมาพูดเรื่องต่อไปของทศนิยม ที่ก็ไม่น่ายากเหมือนเดิม นั่นก็คือ เรื่องของการคูณทศนิยม ซึ่งมันจะเหมือนกับการคูณจำนวนนับหรือไม่ ต้องไปดูกัน
การคูณทศนิยม ความสำคัญคือการนับหลัก
อย่างจั่วหัวไปแล้วว่า วันนี้เราจะมาพูดกันเรื่องของการคูณทศนิยม สำหรับเรื่องนี้ขอสรุปสั้นว่า “การคูณทศนิยมให้ทำเหมือนกับการคูณจำนวนนับธรรมดา แต่เพิ่มการนับหลักในการตอบ” (เออ นี่สั้นแล้วเหรอค่ะ นักเรียนถาม) เอาเป็นว่าเรามาดูตัวอย่างด้วยดีกว่า จะได้เข้าใจ คอนเซปต์ กันมากขึ้นนะ
ตัวอย่างที่ 1 3.09 × 5 = ?
ก่อนที่เราจะคูณ ให้นักเรียนดูก่อนว่าตั้งตั้งและตัวหารที่ทศนิยมอย่างล่ะกี่ตำแหน่ง จากนั้นเอามาบวกกัน โดยตัวอย่างนี้ตัวตั้ง คือ 3.09 มีทศนิยม 2 ตำแหน่ง และ 5 ไม่มีหลักทศนิยมเลย ( 0 ตำแหน่ง) จากนั้นเอามารวมกันก็จะได้ 2+0=2 ซึ่งคำตอบที่เราได้มาตรงนี้จะบอกว่า เราจะต้องตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งนะ จากนั้นก็มาสู่ขั้นตอนการคูณได้เลย
                                        3. 0 9
                                           ×
                                        5
                               1 5 4 5      

จะเห็นว่าการตั้งคูณทศนิยมนั้น เราไม่ตรงตั้งหลักให้ตรงกัน และไม่ต้องเติม 0 ต่อท้ายให้หลักเท่ากันด้วย (จริงๆทำได้นะ แต่ผลเสียก็คือจะทำให้เกิดการเฟ้อบรรทัดแล้วจะทำให้เรางงด้วย) ทีนี้เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการใส่จุดทศนิยมก็ไม่ยาก จะเห็นว่าตอนต้นนั้นเราได้นับหลักไว้แล้วว่า คำตอบจะต้องเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง เราก็นับตัวเลขจากทางขวาสุด(ในที่นี้คือเลข 5 ) มาทางซ้ายเป็นจำนวน 2 หลัก แล้วก็ใส่จุดได้เลย
                                        3. 0 9
                                           ×
                                        5
                               1 5.4 5      เวลาใส่จุดเริ่มนับจากขวาสุดไปตามจำนวนหลักที่หาไว้ตอนแรก






มาดูตัวอย่างที่ 2 ที่เป็น จำนวนทศนิยม × จำนวนทศนิยมกันบ้าง
ตัวอย่างที่ 2           5.345 × 0.57 =?
วิธีทำ                      กำหนดหลักคำตอบทศนิยมก่อน จะได้ ตัวตั้ง 3 ตำแหน่ง + ตัวคูณ 3 ตำแหน่ง คำตอบได้ 5 ตำแหน่ง
ตั้งคูณตามปกติ                          5. 3  4  5
×
                                            0.  5  7
                                   3   7  4   1  5
                               2  6   7  2   5  0 +
                               3  0   4  6   6  5        จากนั้นเอามาใส่จุดทศนิยมจะได้คำตอบคือ 3.04665

ก่อนจะจากกันไป หากนักเรียนไม่เข้าใจก็สามารถดูคลิปสอนที่แนบมาได้นะครับ







มุมเกมการศึกษา
เกมแรกที่จัดมาแนะนำก็คือ กดได้เลยที่คำว่า 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบวก ลบ ทศนิยม ตำแหน่งคือเรื่องสำคัญ

การบวก ลบ ทศนิยม ตำแหน่งคือเรื่องสำคัญ
ห่างหายกันไปนานพอสมควรนะครับ (ครูป่วยน่ะ) วันนี้คณิตครูป้องกับมาอีกครั้ง จำได้ว่าครั้งที่แล้วเราได้เรียนพื้นฐานทั้งหมดเกี่ยวกับทศนิยมไปแล้ว มาที่บทต่อไปกันเลยนั่นคือเรื่องของการนำพื้นฐานเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเราจะเอาพื้นฐานที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมกัน
การบวก ลบ ทศนิยม
วันนี้คณิตครูป้อง ขอเริ่มกันที่การบวก ลบ ทศนิยมกันก่อนก็แล้วกัน สำหรับเรื่องของการบวก ลบ ทศนิยมนั้น จริงๆแล้วก็จะคล้ายกับการบวก ลบ เลขจำนวนนับธรรมดา แต่มันจะต่างกันตรงที่จะมีเรื่องของทศนิยมเข้ามาด้วย โดยมีแก่นก็คือว่า เขียนตำแหน่งของทศนิยมให้ตรงกัน หากหลักทศนิยมไม่เท่ากันให้เติม 0 ให้ตำแหน่งเท่ากัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1           9.89 + 0.09 = ?
วิธีทำ                                       9 . 8 9
                                0.  0 9 +
                                9.  9 8    
จากตัวอย่างที่ 1 จะเห็นตัวทั้งตัวตั้งและตัวบวก จะมีหลักทศนิยมเท่ากันคือ 2 ตำแหน่ง ทีนี้การบวกก็ไม่ยากเพียงแค่เราใส่หลักทศนิยมให้ตรงกัน จากนั้นก็บวกกันตามปกติเหมือนกับจำนวนนับ นั่นเอง มาดูตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 2           6.098 – 2.4 = ?
วิธีทำ                                       6. 0 9 8
                                2. 4 0 0
                                3. 6 9 8
จากตัวอย่างที่ 2 จะเห็นว่าตัวตั้งมีทศนิยม 3 ตำแหน่ง และตัวลบเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ดังนั้นการจะตั้งลบกันนั้น ควรที่จะเติม 0 (ศูนย์)ที่ตัวลบ ให้กลายเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งเท่ากัน(ตัวสีแดง) จากนั้นก็ตั้งลบกันตามปกติ นักเรียนบางคนที่เข้าใจแล้วอาจจะไม่ต้องเติมศูนย์เพื่อให้หลักเท่ากันก็ได้ ก็จะได้อย่างนี้
ตัวอย่างที่ 2           6.098 – 2.4 = ?
วิธีทำ                                       6. 0 9 8
                                2. 4  –
                                3. 6 9 8
ได้คำตอบเท่ากัน แต่คณิตครูป้อง ไม่อยากจะให้ใช้วิธีนี้เท่าไร เพราะถ้าไม่เข้าใจริงๆอาจจะทำให้การลบคลาดเคลื่อนไปได้

สรุปว่า การบวกลบทศนิยมนั้น หากจำนวนหลักทศนิยมเท่ากันแล้วทั้งตัวตั้งและตัวบวกหรือลบ ก็สามารถแสดงวิธีการหาคำตอบได้เลย แต่ต้องเขียนหลักให้ตรงกันด้วย แต่ถ้าจำนวนหลักทศนิยมไม่เท่ากัน ควรเติมศูนย์ต่อท้ายให้หลักทศนิยมเท่ากันทั้งตัวตั้งและตัวบวก(ลบ) จะทำให้การแสดงวิธีทำง่ายขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้คณิตครูป้องมีเกมส์มาให้ไปลองเล่นเหมือนเดิม กดที่ลิงค์ได้เลยนะครับแต่ถ้ากดแล้วไม่ได้ ให้ครอบลิงค์แล้ว copy ไปวางบนแทบ URL (ตรงที่บอกเวบนั่นแหละ) จากนั้นก็กด enter แล้วก็รอเล่นได้เลย เหมือนเดิมเกมเป็นภาษาอังกฤษหมดนะครับ
เกมแรกจะเป็นเกมน้องหมา แย่งกระดูก วิธีการเล่นก็คือ เค้าจะมีผลลัพธ์เป้าหมายมาให้ จากนั้นเราก็เลือก ถาดข้าวสองถาดที่รวมแล้วได้ผลลัพธ์ตรงกับที่กำหนดให้ แต่ต้องรีบนะเพราะไม่งั้นคนอื่นจะมาแย่งไป
เป็นเกมฟุตบอล เราจะรับหน้าที่เป็นนักฟุตบอลยิงจุดโทษแต่ว่าเราต้องตอบคำถามให้ได้ก่อน ถ้าตอบถูกถึงจะได้ยิง
เหมือนกันแต่เป็นการลบ
เสริมทักษะภาษาอังกฤษนิดหนึ่ง
Adding หมายถึง การบวก
Subtracting หมายถึง การลบ
ลองเล่นกันดูนะครับ เจอกันเรื่องต่อไปจ้า


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เกมเกี่ยวกับการหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม

เกมเกี่ยวกับการหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม

http://www.free-training-tutorial.com/decimal/decimal-sharks.html


เกมปลาฉลาม กติกาคือ เราจะต้องกดหาคำตอบที่ตัวปลาฉลามตัวใดตัวหนึ่งก่อนที่ปลาทองเราจะถูกกิน

http://www.sheppardsoftware.com/mathgames/decimals/scooterQuestDecRound.htm

เกมส่งของ เราจะต้องเลือกคำตอบเกี่ยวกับค่าประมาณใกล้เคียงให้ถูกต้อง


อ๋อ ลืมเรื่องสำคัญไปเลย เกมที่ครูแนบลิงค์มาให้เล่นนี่แน่นอนว่า เป็นภาษาอังกษ แต่อย่าเพิ่งถอดใจไป ลองมาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ดีกว่า ส่วนวิธีการเข้าไปเล่น ให้ใช้คลุมลิงค์จากนั้นก็อปปี้URL (ประโยคยาวๆนี่แหละ) จากนั้นก็ลองเล่นดูได้เลย

คำว่า Whole number ถ้าเห็นคำนี้แสดงว่า เค้าต้องการให้เราค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มจากทศนิยม (ให้พิจารณาตัวเลขโดด จากทศนิยมตำแหน่งที่ 1 เช่น 13.201 จะได้ 13 เป็นต้น)

คำว่า Tenth คำนี้หมายถึงการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนหลักส่วนสิบ (1 ตำแหน่ง)

คำว่า Hundredth คำนี้หมายถึง การหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนหลักส่วนร้อย (2 ตำแหน่ง)

สุดท้ายนี้อยากจะแนะนำนักเรียนว่า การเล่นเกมจะช่วยให้เราเข้าใจได้มากขึ้น + ความสนุกสนานด้วย แล้วเจอกันในเรื่องต่อไปอย่าง การบวก ทศนิยม

การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม

การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม
มาถึงเรื่องสุดท้ายของพื้นฐานทศนิยมกันแล้ว นั่นก็คือเรื่องการหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม เรื่องนี้ไม่ยากแต่อาจจะจำสับสนกับการหาค่าประมาณใกล้เคียงของจำนวนนับนิดหน่อย ให้นักเรียนอ่าน หรือดูคลิปให้เข้าใจ หมดเรื่องนี้แล้วเตรียมตัวสอบท้ายบทด้วยนะครับ ก่อนจะขึ้นบทที่ 5
การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมคืออะไร
การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมคือ การปัดหรือประมาณทศนิยมให้อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดให้ เช่น หากเราหาคำตอบทศนิยมแล้วได้ 3.212 ซึ่งเป็นทศนิยมสามตำแหน่ง แต่หากโจทย์ต้องการคำตอบเพียงแค่ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ซึ่งเราจะเอาการหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมมาใช้
การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมใช้ตอนไหน
สำหรับการหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมนั้น เราจะได้ใช้ตอนไหน เรื่องนี้หลักๆเลยเราจะได้ใช้ในเรื่องการหารทศนิยม เนื่องจากการหารทศนิยม บางครั้งเราอาจจะไปเจอคำตอบทศนิยมแบบไม่รู้จบ หรือแบบซ้ำ ทำให้การตอบต้องประมาณค่า(ตัด)เพื่อให้ตอบง่ายที่สุด ส่วนการคูณมีบ้างแต่ไม่บ่อย
การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมทำอย่างไร
การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม ไม่ยากอย่างที่บอกไว้ มีขั้นตอนการทำดังนี้
1.       พิจารณาเลขโดด ถัดจาก หลักที่ต้องการ
 หากต้องการคำตอบเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ก็พิจารณาเลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่ 2
หากต้องการคำตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ก็พิจารณาเลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่ 3
หากต้องการคำตอบเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ก็พิจารณาเลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่ 4
2.       พิจารณาเลขโดดว่า เป็นตัวเลขกลุ่มใด
ถ้าเลขโดดเป็นเลข 0-4 กลุ่มนี้ เรียกว่า ปัดทิ้ง (ปัดลง)
ถ้าเลขโดดเป็นเลข 5-9 กลุ่มนี้ เรียกว่า ปัดทด (ปัดขึ้น)
3.       จากนั้นก็หาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม




ตัวอย่าง จงหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยม 2 ตำแหน่ง จากจำนวนต่อไปนี้ (ข้อ 3-5 ลองหาคำตอบเอานะครับ)
1.  0.235               ค่าประมาณคือ 0.24
2.  0.440               ค่าประมาณคือ 0.44
3.  2.358               ค่าประมาณคือ  ……………………..
4.  5.998                 ค่าประมาณคือ ……………………..
5.  0.098                 ค่าประมาณคือ ……………………..

ปิดท้ายกันด้วยคลิปนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ดูเพิ่มเติมได้เลย แต่คลิปเสียงเบาไปหน่อยนะ
เกือบลืมไป มีลิงค์เกมมาให้เล่นกันด้วยนะครับ เป็นเกมฟุตบอล กติกาคือ เค้าจะให้เราตอบคำถามเกี่ยวกับการประมาณค่าใกล้เคียงนี่แหละ(ภาษาอังกฤษ) ถ้าตอบถูกจะได้ยิงลูกโทษ ลองไปเล่นกันดูนะครับ


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เล่นเกมส์แก้เครียด

http://www.mathplayground.com/Decention/Decention.html


วันนี้ครูป้องขอเปลี่ยนบรรยากาศ มาเล่นเกมส์แก้เครียดกันบ้าง เกมนี้ เป็นเกมส์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เล่นกันอยู่พอดี เกมนี้กติกาคือ เราจะต้องจัดไข่สีฟ้าที่มีค่าเท่ากันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน โดยแต่ละกลุ่มจะเขียนแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในรูปเศษส่วน ทศนิยมและ ร้อยละ ใครทำได้เกิน เลเวล 3 ถือว่า เก่งแล้วครับ ลองเล่นกันดูนะ
การแปลงกลับไปมาระหว่างเศษส่วนและทศนิยม
เรื่องต่อไป ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่มักจะพบเห็นได้ในข้อสอบโอเนตวิชาคณิตศาสตร์เสมอๆเลยนั่นก็คือ เรื่องของการแปลงกลับไปมาระหว่างเศษส่วนและทศนิยม แน่นอนว่าหากเราเข้าใจก็ทำได้ไม่ยากเท่าไร มาดูกันว่ามันมีวิธีการอย่างไร
การแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน
อย่างแรกขอเริ่มต้นที่การแปลงทศนิยมให้กลายเป็นเศษส่วน อันนี้บอกเลยว่า ง่ายมาก วิธีการมีดังนี้
1.       ดูว่าทศนิยมที่ต้องการแปลงเป็นเศษส่วนนั้นมีกี่ตำแหน่ง
·         ถ้ามี 1 ตำแหน่งให้เขียน ส่วน 10 ไว้รอ
·         ถ้ามี 2 ตำแหน่งให้เขียน ส่วน 100 ไว้รอ
·         ถ้ามี 3 ตำแหน่งให้เขียน ส่วน 1,000 ไว้รอ
2.       พิจารณาตัวเลขทศนิยมว่ามีค่าเท่าไร จากนั้นก็เอาไปใส่ไว้เป็นตัวเศษทั้งหมด
3.       หากมีจำนวนหน้าจุดทศนิยม ให้เขียนไว้ข้างหน้า (จะกลายเป็นเศษส่วนจำนวนคละ)
ตัวอย่าง ให้นักเรียนเปลี่ยน 8.904 เป็นเศษส่วน
1.       8.904 เป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ให้เขียนส่วนพันไว้รอ (…./1,000)
2.       ให้นำตัวเลขที่เป็นทศนิยมในที่นี้คือ 904 ไปไว้เป็นค่าเศษ จะได้ 904/1,000
3.       มีจำนวนหน้าจุดทศนิยม(ในที่นี้คือ 8 ) เอาไปใส่ไว้ข้างหน้าจะได้  8 904/1,000 ก็เป็นอันเสร็จพิธี
(อธิบายเพิ่มนิดหนึ่ง ครูยังไม่สามารถใส่แบบจำนวนคละได้ ขอเรียนรู้ก่อนนะ)

ทีนี้มาดูการแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมกันบ้าง ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 วิธีคือ
1.       ใช้การแปลงจากค่าเศษส่วนเลย วิธีนี้ง่าย แต่มีข้อเสียคือถ้าหากค่าตัวส่วนไม่เป็น 10/100/1,000 ก็จะยากนิดหนึ่ง แต่เหมาะกับการเรียนทศนิยมช่วงแรก แน่นอนว่าวันนี้ครูจะแนะนำวิธีนี้เป็นหลัก
2.       ใช้การหารสั้น ตรงนี้ข้อดีคือ ไม่ต้องปรับตัวส่วนให้มันยุ่งยากอะไร แต่ถ้าใครหารไม่แม่นอาจจะงงกับคำตอบได้มากกว่าวิธีแรก สำหรับข้อนี้ครูจะไปอธิบายเพิ่มในส่วนของ การหารทศนิยมก็แล้วกัน

การแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยม ขอเริ่มต้นที่กรณีแรกก่อนเลย คือ ในกรณีที่ตัวส่วนมีค่าเป็น 10/100/1,000 ตัวใดตัวหนึ่งนั้น การแปลงเป็นทศนิยมนั้นไม่ยากเท่าไรโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.       พิจารณาตัวส่วนหากมีส่วนเป็น 10 หมายถึงทศนิยม 1 ตำแหน่ง ส่วนเป็น 100 หมายถึงทศนิยม 2 ตำแหน่ง และ ส่วนเป็น 1,000 จะหมายถึงทศนิยม 3 ตำแหน่ง
2.       พิจารณาจากค่าเศษ ให้นับเลขโดดจากน้อยสุดไปตามจำนวนตำแหน่งของทศนิยมแล้วใส่จุด หากนับไม่พอให้เติม 0 ที่เลขหน้าสุด ตัวอย่างเช่น
·         4/10(คำตอบต้องเป็น 1 ตำแหน่ง)                      =             0.4
·         35/100 (คำตอบต้องเป็น 2 ตำแหน่ง)                      =             0.35
·         678/100 (คำตอบต้องเป็น 2 ตำแหน่ง)               =             6.78
·         3/1,000 (คำตอบต้องเป็น 3 ตำแหน่ง)                       =             0.003
3.       หากเป็นจำนวนคละ ให้เติมจำนวนนับข้างหน้าจุดได้เลย ส่วนเศษส่วนข้างหลังคิดตามปกติ ตัวอย่างเช่น
·         7  1/10 (คำตอบต้องเป็น 1 ตำแหน่ง)                 =             7.1
·         34  35/100 (คำตอบต้องเป็น 2 ตำแหน่ง)               =             34.35

แต่การแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมนั้น แน่นอนว่าบางครั้งตัวส่วนก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ซึ่งหากเราเจออย่างนั้นจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร เอาเป็นว่า ครั้งต่อไปจะมาอธิบายเพิ่มเติม ส่วนวันนี้ ทำแบบฝึกท้ายบทไปก่อนนะครับ ส่วนใครที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็สามารถดูสื่อการสอนที่ครูแปะไว้ก็ได้ครับ

แบบฝึกทบทวน
จงเปลี่ยนทศนิยมต่อไปนี้ ให้กลายเป็นเศษส่วน
1.       0.33                        =             ……………………………………
2.       0.001                     =             ……………………………………
3.       3.25                        =             ……………………………………
4.       5.005                     =             ……………………………………
5.       12.12                     =             ……………………………………
จงเปลี่ยนเศษส่วนต่อไปนี้ให้กลายเป็นทศนิยม
1.       4/10                       =             ……………………………………
2.       7/100                     =             ……………………………………
3.       154/100                =             ……………………………………
4.       345/1,000            =             ……………………………………
5.       2,984/1,000         =             ……………………………………





วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ค่าประจำหลักทศนิยม จำง่ายแต่อย่าสับสน

ค่าประจำหลักทศนิยม จำง่ายแต่อย่าสับสน
เรื่องต่อไป ของทศนิยมก็คือ เรื่องของค่าประจำหลักของทศนิยม สำหรับชั้นป.6 แล้ว ค่าของทศนิยมจะมีแค่ 3 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจให้ดีเนื่องจากจะมีผลในเรื่องการเปรียบเทียบทศนิยมด้วย
ทศนิยมตำแหน่งที่ 1
ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 คือทศนิยมที่อยู่ในหลักที่มีชื่อว่า ส่วนสิบ เลขโดดที่อยู่ในตำแหน่งนี้ จะมีค่าเป็น x/10 หรือ 0.x  เช่น 3 หากอยู่ในหลักส่วนสิบก็จะมีค่าเป็น 3/10 หรือ 0.3 นั่นเอง
ทศนิยมตำแหน่งที่ 2
ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 คือทศนิยมที่อยู่ในหลักที่มีชื่อว่า ส่วนสิบ เลขโดดที่อยู่ในตำแหน่งนี้ จะมีค่าเป็น x/100 หรือ 0.0x        เช่น 3 หากอยู่ในหลักส่วนสิบก็จะมีค่าเป็น 3/100 หรือ 0.03 นั่นเอง
ทศนิยมตำแหน่งที่ 2
ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือทศนิยมที่อยู่ในหลักที่มีชื่อว่า ส่วนร้อย เลขโดดที่อยู่ในตำแหน่งนี้ จะมีค่าเป็น x/100 หรือ 0.0x        เช่น 3 หากอยู่ในหลักส่วนสิบก็จะมีค่าเป็น 3/100 หรือ 0.03 นั่นเอง
ทศนิยมตำแหน่งที่ 3
ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 คือทศนิยมที่อยู่ในหลักที่มีชื่อว่า ส่วนพัน เลขโดดที่อยู่ในตำแหน่งนี้ จะมีค่าเป็น x/1000 หรือ 0.00x        เช่น 3 หากอยู่ในหลักส่วนสิบก็จะมีค่าเป็น 3/1000 หรือ 0.003 นั่นเอง
แต่สิ่งที่สำคัญที่อยากจะให้นักเรียนเข้าใจก็คือว่า ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 > ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 > ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 นะอย่าจำสับสนกัน จำไว้ว่ายิ่งเลขโดดอยู่ในตำแหน่งทศนิยมที่ไกลเท่าไรก็จะยิ่งมีค่าน้อยลงเท่านั้น ลองศึกษาเพิ่มเติมจากคลิปด้านล่างแล้วอย่าลืมทำแบบฝึกท้ายเรื่องด้วย แล้วไปตอบไว้ในช่องคอมเม้นท์นะทุกคน




แบบฝึกทบทวน
จงบอกค่าของเลขโดดที่ขีดเส้นใต้ของจำนวนต่อไปนี้
1.       9.874
2.       4.555
3.       34.998
4.       0.003
5.       984.2